การสึกหรอที่คมตัด
การที่จะเข้าใจได้ถึงข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุแต่ละชนิด สิ่งสำคัญคือจะต้องมีความรู้ในระดับหนึ่งเกี่ยวกับลักษณะการสึกหรอรูปแบบต่างๆ ของเครื่องมือตัด
การสึกหรอด้านหน้า
การเสียดสี
การสึกหรอที่พบได้บ่อยที่สุดของเครื่องมือตัดและเป็นการสึกหรอที่ต้องการให้เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นการสึกหรอที่สามารถคำนวณอายุการใช้งานของเครื่องมือล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ การสึกหรอด้านหน้าเกิดจากการเสียดสี ซึ่งมีสาเหตุมาจากองค์ประกอบที่มีความแข็งของวัสดุชิ้นงาน
การสึกหรอเป็นหลุมด้านบน
ปฏิกิริยาทางเคมี
การสึกหรอเป็นหลุมด้านบนของเครื่องมือตัดจะจำกัดอยู่เฉพาะที่ผิวคายของเม็ดมีด โดยมีสาเหตุมาจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างวัสดุชิ้นงานกับเครื่องมือตัด ซึ่งถูกเร่งปฏิกิริยาโดยความเร็วตัด การสึกหรอเป็นหลุมด้านบนอย่างรุนแรงจะทำให้คมตัดแข็งแรงน้อยลงและอาจส่งผลให้เกิดการแตกบิ่นได้
การพอกติดของเศษวัสดุที่คมตัด (Built-Up Edge หรือ BUE)
การเชื่อมติด
การสึกหรอในลักษณะนี้ของเครื่องมือตัดมีสาเหตุมาจากการที่เศษเชื่อมติดเข้ากับเม็ดมีดเนื่องจากแรงกด ซึ่งมักจะพบได้บ่อยกับการตัดเฉือนวัสดุที่มีความเหนียว เช่น เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ เหล็กสเตนเลส และอะลูมิเนียม การใช้ความเร็วตัดต่ำจะยิ่งเร่งให้เกิดการพอกติดของเศษวัสดุเร็วขึ้น
การสึกหรอแบบรอยบาก
การเชื่อมติด
การสึกหรอของเม็ดมีดที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ ความเสียหายเฉพาะจุดที่ผิวคายทั้งสองด้านและที่ด้านหน้าของเม็ดมีดที่ระดับเดียวกับระยะกินลึกที่ใช้ การสึกหรอประเภทนี้เกิดจากการเชื่อมต่อ (เศษเชื่อมติดเนื่องจากแรงกด) และการเสียรูปเนื่องจากการแข็งตัวที่ผิว การสึกหรอแบบรอยบากสามารถพบได้บ่อยในการตัดเฉือนเหล็กสเตนเลสและวัสดุ HRSA
เกิดการเสียรูปถาวร
ความร้อน
การเสียรูปถาวรเกิดขึ้นเมื่อวัสดุทำเครื่องมือตัดอ่อนตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่อุณหภูมิการตัดสูงเกินไปสำหรับเกรดนั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว เกรดที่มีความแข็งมากกว่าและมีการเคลือบผิวหนากว่าจะมีความต้านทานการเสียรูปถาวรดีกว่า
การแตกร้าวเนื่องจากความร้อน
ความร้อน
เมื่ออุณหภูมิที่คมตัดเปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็นอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดรอยแตกร้าวหลายจุด ซึ่งจะมีลักษณะตั้งฉากกับคมตัด การแตกร้าวเนื่องจากความร้อนมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการตัดกระแทก ซึ่งมักจะพบในงานกัด และจะยิ่งเกิดความเสียหายมากขึ้นในกรณีที่มีการใช้น้ำหล่อเย็น
การกะเทาะ/การหักของคมตัด
การสึกหรอทางกล
การกะเทาะหรือการหักเป็นผลมาจากความเค้นดึงทางกลสูงเกินไป ความเค้นดังกล่าวอาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น ปัญหาเศษตี ระยะกินลึกหรืออัตราป้อนงานสูงเกินไป วัสดุชิ้นงานมีทรายปน เศษวัสดุพอกติดที่คมตัด การสั่นสะท้าน หรือเม็ดมีดมีการสึกหรออื่นๆ มากเกินไป
ขอบคุณข้อมูล https://www.sandvik.coromant.com/th-th/knowledge/materials/pages/wear-on-cutting-edges.aspx
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น